การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

รูปภาพ

            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก โดยหน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพภายใน โดยให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อพร้อมรับการประกันคุณภาพภายนอก

ความหมาย

          การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรม ตามปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการทางการศึกษา ว่าการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

          เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาได้คุณภาพมาตรฐาน ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ ความสามารถ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรที่กำหนดและสังคมต้องการ   

องค์ประกอบของการประกันคุณภาพภายใน

                          หลักการของการประกันคุณภาพภายใน

1) จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

2) การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการ และการทำงานของบุคคลทุกคนในสถานศึกษา และเป็นการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ มีการตรวจสอบประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ มีความโปร่งใส และมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน

3) การประกันคุณภาพภายใน เป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษา โดยการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เครือข่าย หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตาม ประเมินผล พัฒนาปรับปรุง ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ระบบประกันคุณภาพภายใน

การประกันคุณภาพภายใน มีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้นการดำเนินการประกันคุณภาพ จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับระบบการทำงานซึ่งมีความสัมพันธ์ และต่อเนื่องกันดังนี้

1) การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน โดยมีการจัดระบบบริหารและสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐาน

2) การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม อาทิ เช่น การสังเกตพฤติกรรมและกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนรู้ การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน ตลอดจนการใช้แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบวัดมาตรฐาน เป็นต้น

การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3) การประเมินคุณภาพ เป็นการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อประเมินคุณภาพของสถานศึกษา จัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี

 วิธีการประกันคุณภาพภายใน

 

1) การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้

2) จัดให้มีกลุ่ม ฝ่ายหรือคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

3) พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น

4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว

5) ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา

6) จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

7) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

การวางแผนการศึกษา

รูปภาพ

ความหมายของการวางแผน

 คือ กระบวนการในการกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น หากจะกล่าวในแง่ของสถานการณ์ การวางแผนเป็นกระบวนการในการเผชิญกับความไม่แน่นอนโดยการกำหนดการกระทำขึ้นล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลตามที่กำหนดไว้ การวางแผนจะเกี่ยวข้องกัน 2 อย่างคือ จุดหมายปลายทางกับวิธีการ จุดหมายปลายทางก็คือจะทำอะไร วิธีการก็คือจะทำอย่างไรการวางแผนอาจเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่เป็นทางการ

ความสำคัญของการวางแผน

         ถ้าจะถามว่าทำไม่ต้องมีการวางแผนอาจตอบได้ง่ายๆ ว่า เพื่อลดความไม่แน่นอนลงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด หากสถานการณ์ต่างๆ ในโลกมีความแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนคิดอยากจะทำอะไรก็ได้และก็ประสบผลสำเร็จตามต้องการด้วย แต่เพราะสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีความแน่นอนหรือมีความเสี่ยงจึงต้องมีการวางแผน 

วัตถุประสงค์ในการวางแผน

   1. การวางแผนทำให้รู้ทิศทางในการดำเนินงาน เมื่อผู้ปฏิบัติงานรู้ทิศทางการทำงานก็สามารถประสานงานกัน รู้ว่าควรทำอะไรและทำอย่างไรจะได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากไม่มีการวางแผน นอกจากไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหนแล้วก็ยังก่อให้เกิดการสูญเสียหรือสิ้นเปลืองทรัพยากรอีกด้วย

  2.  การวางแผนทำให้ลดความไม่แน่นอนลง เพราะผู้บริหารจะมุ่งมั่นไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างแน่วแน่ สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงอันอาจเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม

  3.  การวางแผนทำให้ลดความเสียหายการซ้ำซ้อนกันของงานที่ทำ เนื่องจากการวางแผนทำให้รู้ทั้งวิธีการและเป้าหมายของงานจึงทำให้มีความชัดเจนในการทำงาน รู้ว่ากิจการรมใดควรทำก่อนหลังอย่างไร การซ้ำซ้อนและการสิ้นเปลืองจึงไม่เกิดขึ้น

  4.  การวางแผนทำให้รู้มาตรฐานในการควบคุม หน้าที่ขั้นสุดท้ายของการบริหารคือ การควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด กิจกรรมที่สำคัญของการควบคุมคือมาตรฐานที่ให้เปรียบเทียบกับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง การวางแผนจึงกำหนดมาตรฐานได้แน่นอนชัดเจนว่างต้องให้ได้ผลงานอย่างไร

ข้อดีของการวางแผน

  1.ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การปรับปรุงการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและพนักงานแยกได้เป็น 2 อย่างคือ ควรเน้นอะไรและควรยืดหยุ่นอย่างไร (focus and flexible) ทั้งสองอย่างจะช่วยสร้างอำนาจในการแข่งขันขององค์การ ควรเน้นอะไรนั้นทำให้องค์การรู้ว่าจะทำอะไรจึงจะดีที่สุดต่อลูกค้าและควรให้บริหารแก่ลูกค้าอย่างไร 

  2.  ปรับปรุงการประสานงานให้ดีขึ้น ในองค์การย่อมประกอบด้วยระบบย่อยและกลุ่ม (subsystem and group) หลายระบบและหลายกลุ่ม แต่ละระบบแต่ละกลุ่มต่างมีเป้าหมายของตัวเองและต่างทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของตัวเองทั้งนั้น การที่จะไม่ให้ระบบย่อยและกลุ่มต่างๆ ขัดแย้งกันก็ต้องอาศัยการวางแผนที่ดี การวางแผนได้จัดแยกวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายต่างๆ

  3.ปรับปรุงการควบคุมให้ดีขึ้น กิจกรรมของการควบคุมก็คือ การวัดผลการปฏิบัติงานและการแก้ไขการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การวางแผนจะช่วยให้การควบคุมมีประสิทธิภาพเพราะการวางแผนจะต้องกำหนดเป้าหมายขึ้นมาก่อน 

  4.ปรับปรุงการบริหารเวลาให้ดีขึ้น คนส่วนใหญ่จะประสบกับความยากลำบากในการใช้เวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำวิธีบริหารเวลาอย่างง่ายๆ ก็คือ การกำหนดตารางเวลาไว้ในสมุดบันทึกหรือในปฏิทินเพื่อเตือนความจำว่าวันไหนจะต้องทำอะไร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้

โครงการเก็บของให้เข้าที่ สร้างความมีระเบียบวินัย

หลักการและเหตุผล

              การฝึกให้เด็กรู้จักการเก็บของให้เข้าที่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักการเล่นของเล่นและใช้อุปกรณ์ต่างๆ อย่างมีความรับผิดชอบและเก็บเข้าที่อย่างเป็นระเบียบ เพราะเด็กในวัยอนุบาลยังไม่รู้เกี่ยวกับการเก็บของเข้าที่เพราะเขายังเด็กอยู่จึงไม่รู้จักการเก็บของอย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้ห้องเรียนเต็มไปด้วยของเล่นและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เด็กเล่นและใช้แล้วไม่ยอมเก็บเข้าที่จึงทำให้ห้องเรียนไม่น่าเรียน ไม่น่าอยู่ จึงต้องอาศัยครูพี่เลี้ยงเก็บของเล่นที่เด็กเล่นแล้วไม่ยอมเก็บเพียงคนเดียว จึงทำให้เด็กไม่มีความรับผิดชอบในการเล่นของเล่น ดังนั้นจึงจัดทำโครงการส่งเสริมเก็บของให้เข้าที่สร้างความมีระเบียบขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

วัตถุประสงค์
– เพื่อฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ
– เพื่อฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย ในการเก็บของ อุปกรณ์ต่างๆ หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ
– เพื่อสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็ก
– เพื่อให้เด็กได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
เป้าหมาย
นักเรียนชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 19 คน
ระยะเวลาดำเนินการ
– เดือนกุมภาพันธ์ 2557
– สรุปและประเมินผล กุมภาพันธ์ 2557

วิธีการดำเนินการ

– ปรึกษากับครูและพี่เลี้ยง เพื่อขอความร่วมมือและร่วมกันสนับสนุน
– วางแผนและร่างโครงการ เพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
– ลงมือปฏิบัติโครงการ
– สรุปและประเมินผล
ผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานที่
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
งบประมาณ
รายการจัดซื้ออุปกรณ์
– กระดาษแข็งขาวเทา 20 บาท
– กระดาษสี 40 บาท
– ปากกาสีต่างๆ 70 บาท
– กาว 40 บาท
– อุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ 80 บาท
   รวมทั้งสิ้น 250 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
– เด็กสามารถเก็บของ อุปกรณ์ต่างๆ เข้าที่และเป็นระเบียบได้
– เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการเก็บของ อุปกรณ์ต่างๆ หลังทำกิจกรรมได้
– เด็กมีความเป็นระเบียบ มีวินัย มีความรับผิดชอบ ในตนเองมากขึ้น
– เด็กมีน้ำใจ เสียสละ ต่อผู้อื่นในการเก็บของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้
การวัดและการประเมินผล

– แบบสอบถาม

– รูปถ่ายก่อนทำกิจกรรม – หลังทำกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. นางสาวเรนุกานต์ อินทร์กัณท์
  2. นางสาวหุสณา หลำสะ
  3. นางสาวอรทิรา พรหมจันทร์

           สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้…จากการนำเสนอเรื่อง  การบริหารจัดการในห้องเรียน  การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  โครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน  การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา

การบริหารจัดการในห้องเรียน  (Classroom  management) 

         การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึง  เริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมี 

  • มนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
  • มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตา เป็นมิตรกับผู้เรียน 
  • รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล 
  • รู้จักภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

                    ครูผู้สอนควรมีเครื่องมือและทักษะในการรวบรวมข้อมูล  อาจจะเป็นแบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์  การทำสังคมมิติ  และการศึกษารายกรณี

ความหมายของการบริหารจัดการในห้องเรียน

การบริหารจัดการในห้องเรียน หมายถึง  ภาระหน้าที่ต่างๆ ที่ครูจะต้องทำ  เช่น การจัดวางวัสดุอุปกรณ์ การวางแผนการใช้เวลาหรือการจัดตารางสอนอย่างเหมาะสม  รวมทั้งการสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน

การบริหารจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน  เพื่อสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  การจัดสภาพแวดล้อมคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้  การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

หลักการแนวคิดการบริหารจัดการในห้องเรียน

การบริหารจัดการห้องเรียนตามรูปแบบจิตวิทยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่า  “ การเปลี่ยนพฤติกรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ครูเข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมเด็ก เข้าใจว่าอะไรเป็นแรงจูงใจทำให้เด็กมีพฤติกรรมเช่นนั้น เข้าใจถึงความคิดความรู้สึกความต้องการและความตั้งใจ ”

ความสำคัญของการบริหารจัดการในห้องเรียน

1. ห้องเรียนคือมิติทางกายภาพที่เกิดจากการบริหารจัดการห้องเรียนเชิงบวก  มิติกายภาพเป็นปัจจัยแรกและประการสำคัญที่สุด

2. เครื่องตกแต่งห้องและของใช้ต่างๆ ควรมีแสงสว่างเพียงพอ  ห้องเรียนไม่ควรร้อนมากหรือเย็นมาก ตลอดจนระดับความดังของเสียง รวมทั้งความปลอดภัย

3. พื้นที่ต้องให้ความเคลื่อนไหวได้สะดวกเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาด้านพฤติกรรม

                ห้องเรียนเป็นสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น  เพื่อการเรียนการสอนซึ่งมีองค์ ประกอบที่สำคัญของการบริหารจัดการห้องเรียนคือ  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพสิ่งที่มองเห็นจับต้องได้และการเคลื่อนไหว

องค์ประกอบของการบริหารจัดการในห้องเรียน

รูปแบบการบริหารจัดการในห้องเรียน  มี 3 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบพฤติกรรม

2. รูปแบบจิตวิทยา

3. รูปแบบการจัดการแบบกลุ่ม

                ดังนั้น  การจัดห้องเรียนที่ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเปลี่ยน แปลงไปตามสถานการณ์ของคนในห้องเรียนนั้น ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพของครู  ที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้วางแผนในการจัดกิจกรรม  หาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายใช้สื่อที่เหมาะสม  ทำให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานกระตือรือร้นในการเรียนและเกิดการเรียนรู้

การบริหารจัดการในห้องเรียน

การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

                การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หมายถึง บริเวณสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียนบรรยากาศโดยรอบสะอาดสวยงาม  มีระเบียบปลอดภัยและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดโต๊ะเก้าอี้การจัดมุมวิชาการต่างๆ ความเป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน รวมทั้งการส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งเป็นสภาพที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียน ทำให้นักเรียนสบายใจมีความสุข  ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

การดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ

                การดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบ  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยกระบวนการและผลผลิตซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ

  •  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
  •  มีความสามารถในการประยุกต์หลักจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
  •  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
  •  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

การจัดกิจกรรมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ

                การจัดกิจกรรมให้นักเรียนประสบความสำเร็จนั้น  จะเน้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมและมุ่งพัฒนาความเจริญทุกด้านให้แก่ผู้เรียน ให้นักเรียนได้แสดงออกได้มีส่วนร่วมฝึกฝนวิธีการแสวงหาความรู้ วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองและจัดให้มีความสนุกสนาน ตลอดจนจัดให้เหมาะสมกับวัยความสามารถของผู้เรียน

การสร้างวินัยในห้องเรียน

                การสร้างวินัยในห้องเรียน หมายถึง  หลักการควบคุมชั้นโดยถือเอาความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับนักเรียน การที่ให้นักเรียนทุกคนในห้องเรียนรู้จักปกครองตนเองการกระทำตามระเบียบหรือข้อบังคับต่างๆ อันเกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติโดยที่มองเห็นว่ามีคุณค่าและการปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้เกิดความเรียบร้อยและความเสมอภาคแก่สมาชิกทุกคน

การคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

                การคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ  บุคคลที่มีความแตกต่างกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นขึ้นกับเชาวน์ปัญญาความสนใจยุทธวิธีในการเรียนรู้พื้นฐานความรู้เดิม ทักษะในการปรับรูป แบบการเรียนรู้ ความสามารถในการจำแรงจูงใจ ทัศนคติสิ่งแวดล้อมทางสังคมและการเสริมแรงด้วยการให้ความสนใจคำชมเชยหรือแลกเปลี่ยนกิจกรรมแสดงการยอมรับเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความสามารถโดยใช้กิจกรรมให้สัมพันธ์สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียน

 

การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)

             ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS  คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง 

สารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
–  ระบบสารสนเทศ
–  ข้อมูลสารสนเทศ
–  ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
–  ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศในองค์กร
–  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้ง่านร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ    เทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ
       1. ระบบประมวลผล ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือ ไม่สะดวก ช้า และอาจผิดพลาด ปัจจุบันองค์การจึงต้องทำการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุนในการจัดการข้อมูล เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
       2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       3. การจัดการข้อมูล
ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสาร สนเทศโดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบสองประการแรก แต่ผู้ที่สนใจด้านการจัดการข้อมูล (Data/Information Management) จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่สาม ซึ่งมีความเป็นศิลปะ ในการจัดรูปแบบและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ ในการประมวลผล การจัดเก็บ การสื่อสาร และการส่งผ่านสารสนเทศด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนทศ ทั้งภายในและภายนอกระบบ ให้สามารถดำเนินร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ
ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน  หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
สารสนเทศ (Information) นั้นคือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว  อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้   สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ  แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย    สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
คุณสมบัติของข้อมูล
        การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ  หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์  องค์การจำเป็นต้องลงทุน  ทั้งในด้านตัวข้อมูล  เครื่องจักร  และอุปกรณ์  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ  เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้  และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง  สามารถดำเนินการได้  ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน  ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน  ดังนี้
            1. ความถูกต้อง  หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก  ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิง  หรือนำเอาไปใช้ประโยชน์  ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ  และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้  โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด  โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่  มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร  การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
            2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้  มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว  ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ  มีการออกแบบระบบการเรียนค้น  และรายงานตามผู้ใช้
            3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
            4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
            5. ความสอดคล้อง  ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ  ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ  ดูสภาพการใช้ข้อมูล  ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

 

โครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา และการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน

การศึกษากับการพัฒนาชุมชน

   ( การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน )   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของประชาชนในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนและสังคมโดยรวม ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยให้ประชาชน ชุมชนร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชนของตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้  บูรณาการความรู้  ประสบการณ์   และทักษะอาชีพ   เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง  มีความเอื้ออาทรต่อกัน  และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาชุมชน

            การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการแก้ปัญหาสังคมที่ประเทศต่าง ๆได้นำมาใช้จนประสบผลสำเร็จมาแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพของคนให้เกิดการพัฒนา อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ   การพัฒนาชุมชนส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

– ช่วยยกระดับการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น

– ช่วยแก้ปัญหาการว่างงาน

– ส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

– ลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างรายได้ของประชาชน

– ทำให้ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและประเทศชาติมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ด้านสังคม   การนำเอาวิธีการพัฒนาชุมชนเข้าไปใช้ ย่อมทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นดังนี้

– ทำให้ประชาชนรู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น

– ช่วยให้ประชาชนรู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยของครอบครัวดีขึ้น

– สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นและลดช่องว่างความแตกต่างในเรื่องชนชั้นให้น้อยลง

– ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น

– ทำให้ประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนและรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ด้านความมั่นคงของประเทศ   ในการพัฒนาชุมชนมีผลทำให้ประชาชนเข้าใจและไม่ให้ความร่วมมือกับผู้ไม่หวังดีอีกต่อไป ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

– เป็นการก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศในที่สุด

– ทำให้ประชาชนเกิดความรักความเข้าใจในรัฐบาลและประเทศชาติของตนมากยิ่งขึ้น

– เป็นการขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

– ทำให้ประชาชนเข้าใจการปกครองแบบประชาธิปไตย

– เป็นการลดและป้องกันการแทรกซึมบ่อนทำลายของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะผู้ไม่ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมือง โจรแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น

 

 

การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียน สถานศึกษา

โครงการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา   หมายถึง โครงการที่เป็นการจัดกิจกรรมอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อการพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา ให้ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และปรับปรุงสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิพล

วัตถุประสงค์ของการทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนและสถานศึกษา

    1. พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม

    2. พัฒนาความสามารถของผู้เรียนตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม

    3. เข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เลือกตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1. มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม

    2. จัดให้เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและวัฒธรรมที่ดีงาม

    3.  บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริง ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

    4. ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ฝึกให้คิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ จินตนาการที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง

    5. จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม

    6. มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของสถานศึกษา

    7. ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีครูเป็นที่ปรึกษา ถือเป็นหน้าที่และงาน ประจำโดยคำนึงถึงความปลอดภัย

    8. ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    9. มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ขอบข่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนประกอบด้วย  กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรม นักเรียน ซึ่งสถานศึกษาสามารถแยกหรือบูรณาการไว้ด้วยกัน ก็ได้และสามารถจัดได้หลากหลายรูปแบบและวิธีการโดยมีขอบข่ายดังนี้

1)  เป็นกิจกรรมที่เกื้อกูล ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นในรูปแบบของการปฏิบัติตามโครงการหรือโครงงาน ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม เป็นพื้นฐาน

2)  เป็นกิจกรรมที่สนองความสนใจ ความต้องถนัด ความต้องการของนักเรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลในลักษณะชมรม ชุมนุม กลุ่มสนใจ เน้นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ

3) เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมในลักษณะต่างๆ ให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีค่านิยมในความดีงาม มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรมและจริยธรรมตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    เป้าหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    1. ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดความรู้ ความชำนาญ ด้านวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยี

    2. เห็นคุณค่าขององค์ความรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ใช้ในการพัฒนาตนเอง และประกอบอาชีพสุจริต

    3. รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีกระบวนการคิดมีทักษะในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความสุข

    4. ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง มองเห็นช่องทางในการสร้างงาน อาชีพในอนาคตได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง

    5. พัฒนาบุคลิกภาพ เจตคติ ค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิต เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

    6. มีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนความเป็นระเบียบวินัย คุณธรรมและจริยธรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ คือ………….

การบริหารจัดการในห้องเรียนหรือชั้นเรียน

ความหมายของการบริหารจัดการในห้องเรียนหรือชั้นเรียน

       การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไป คือการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ห้องเรียน เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลและเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายทางการศึกษา  สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข

การบริหารการจัดชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิด การวางแผน และการปฏิบัติทั้งหลายทั้งปวงของครูที่สร้างสรรค์ภาพแวดล้อมอย่างเป็นระบบระเบียบ และส่งเสริมการเรียนรู้ โดยเป้าหมายของการบริหารจัดการ (MANAGEMENT GOALS) มี 2 ประการสำคัญ คือ

1.1 รังสรรค์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความเป็นไปได้ มากที่สุด และครูจะสามารถสะท้อนการปฏิบัติงานของตนเองด้วยการถามตนเองสม่ำเสมอว่าระบบการบริหารจัดการเอื้ออำนวยให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างไรเพียงใด
1.2 พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพในการจัดการและนำตนเองให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น การบริหารจัดการชั้นเรียนจึงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจด้วยตนเอง ประเมินตนเอง และควบคุมดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัย

การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

ความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน 

              บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิด ความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้าง บรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนัก เรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มา โรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่า ครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และสติปัญญา  

เป้าหมายของการบริหารจัดการชั้นเรียน
เป็นการช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

การจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้

บรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอนจัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต

6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น

บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

 

คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2557

 คือ กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง

 ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
         วันเด็กแห่งชาติ  มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

        อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้
        ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
 วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก
         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า“เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ”
 กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ
         กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ

 คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ
          คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่างๆ
          ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้

 คำขวัญวันเด็ก 2499 – จอมพล ป.พิบูลสงคราม – จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2502 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ – ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า 

 คำขวัญวันเด็ก 2503 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด 

 คำขวัญวันเด็ก 2504 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย 

 คำขวัญวันเด็ก 2505 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2506 – จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ –  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด 
   คำขวัญวันเด็ก 2507 – งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2508 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2509 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี 

 คำขวัญวันเด็ก 2510 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย 

 คำขวัญวันเด็ก 2511 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง 

 คำขวัญวันเด็ก 2512 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ 

 คำขวัญวันเด็ก 2513 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2514 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ 

 คำขวัญวันเด็ก 2515 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2516 – จอมพล ถนอม กิตติขจร – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ 

 คำขวัญวันเด็ก 2517 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – สามัคคีคือพลัง 

 คำขวัญวันเด็ก 2518 – นายสัญญา ธรรมศักดิ์ – เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2519 – หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช – เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ 

 คำขวัญวันเด็ก 2520 – นายธานินทร์ กรัยวิเชียร – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2521 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2522 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – เด็กไทยคือหัวใจของชาติ 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2523 – พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ – อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย 

 คำขวัญวันเด็ก 2524 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2525 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2526 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2527 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา 

 คำขวัญวันเด็ก 2528 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม 
 
 คำขวัญวันเด็ก 2529 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 

 คำขวัญวันเด็ก 2530 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2531 – พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ – นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 

 คำขวัญวันเด็ก 2532 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 

 คำขวัญวันเด็ก 2533 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2534 – พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ – รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา 

 คำขวัญวันเด็ก 2535 – นายอานันท์ ปันยารชุน – สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม 

 คำขวัญวันเด็ก 2536 – นายชวน หลีกภัย – ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2537 – นายชวน หลีกภัย – ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2538 – นายชวน หลีกภัย – สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2539 – นายบรรหาร ศิลปอาชา – มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด 

 คำขวัญวันเด็ก 2540 – พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ – รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด 

 คำขวัญวันเด็ก 2541 – นายชวน หลีกภัย ขยัน – ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย 
  
 คำขวัญวันเด็ก 2542 – นายชวน หลีกภัย ขยัน – ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย 

 คำขวัญวันเด็ก 2543 – นายชวน หลีกภัย – มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย 

 คำขวัญวันเด็ก 2544 – นายชวน หลีกภัย – มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย 

 คำขวัญวันเด็ก 2545 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร – เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส 

 คำขวัญวันเด็ก 2546 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร – เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี 

 คำขวัญวันเด็ก 2547 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร – รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน 

 คำขวัญวันเด็ก 2548 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  – เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด 

 คำขวัญวันเด็ก 2549 – พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  – อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

 คำขวัญวันเด็ก 2550 – พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ – มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข 

 คำขวัญวันเด็ก 2551 – พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ – สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม 

 คำขวัญวันเด็ก 2552 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ – ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

 คำขวัญวันเด็ก 2553 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ – คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

 คำขวัญวันเด็ก 2554 – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ – รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

 คำขวัญวันเด็ก 2555– ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร – สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

 คำขวัญวันเด็ก 2556 – ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร – รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

 คำขวัญวันเด็ก 2557 – ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร – กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทยให้มั่นคง

สรุปจากใบงานที่ 5 วันอังคารที่ 17  ธันวาคม  พ.ศ.2556

การบริหารจัดการชั้นเรียน

คือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่า เป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพให้มีบรรยากาศ น่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แต่ถ้าจะพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว การจัดดารชั้นเรียนนั้น ครูจะต้องมีภาระหน้าที่มากมายหลายด้าน โดย ฮอล (Susan Colville-Hall :2004) ได้ให้ความหมายของการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงสภาพเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การให้ผลย้อนกลับและการจัดการเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียน ความพยายามของครูที่มีประสิทธิภาพนั้นหมายรวมถึง การที่ครูเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ (responsive) และเป็นผู้สนับสนุน (supportive)

        การบริหารจัดการชั้นเรียน  เพื่อ การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่องขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อและเครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่างๆ

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน

สามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ
1. บรรยากาศทางกายภาพ
2. บรรยากาศทางจิตวิทยา

ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

ทฤษฎี คือ มวลแนวความคิดต่าง ๆ  ที่นำมาสร้าง เป็นหลักการอย่างมีเหตุผล  ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองและวิจัยบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง

               ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ  การบริหารและการจัดการมักจะเป็นคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ แต่ในความเป็นจริง การบริหารจะเน้นในเรื่องของการจัดการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมักจะใช้กับการบริหารในหน่วยงานของรัฐ  ส่วนการจัดการจะใช้ในงานที่เกี่ยวกับภาคเอกชน

วิวัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร  แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ดังนี้

1. กลุ่มคลาสสิก  (Classical Organizational Thought)  ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor)  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิก  โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick) และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)  ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่นิยมเรียกกันว่า POSDCRB

2. กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิก โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า “มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน”  จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า  ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง    ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant  โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ  ผลการทดลองพบว่า  พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด  พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย  อันประกอบด้วย  ปทัสถาน (norms)  ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments)  ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน

3. กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง  ทฤษฎีแรก  ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา    สังคมวิทยา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์  เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ ซึ่งอาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ

4. กลุ่มทฤษฎีระบบ ( A System View) ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output)  ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ

                  4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล)  มีความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้  เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร

                   4.2  ระบบเปิด   เชื่อว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม  และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและนอกองค์การ

การคิดอย่างเป็นระบบ

การคิดอย่างเป็นระบบหมายถึง การกำหนดองค์ประกอบและการจัดองค์ประกอบของระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนด ซึ่งการสร้างระบบหรือจัดระบบควรมีขั้นตอน ดังนี้

  1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบ
  2. การศึกษาหลักการ/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  3. การศึกษาสภาพการณ์และปัญหาที่เกี่ยวข้อง
  4. การกำหนดองค์ประกอบของระบบ
  5. การจัดกลุ่มองค์ประกอบของระบบ
  6. การจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
  7. การจัดผังระบบ
  8. การทดลองใช้ระบบ
  9. การประเมินระบบ
  10. การปรับปรุงระบบ

การคิดอย่างเป็นระบบ

System Thinking  หมายถึง  วิธีการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว วิธีการคิดอย่างมีระบบ จะเป็นหนทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ถ้าองค์กรนั้น ๆ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ ยึดหลักให้ พนักงานภายในองค์กร ตระหนักในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมการเรียนรู้ของพนักงานองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จึงทำให้เกิด การเรียนรู้จากตัวเองของพนักงานแต่ละคน เกิดการเรียนรู้ของทีมงาน ทำให้เกิดการสร้างวิสัยทัศน์รวม (Shared Vision) และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (Team Learning)

หลักการคิดหรือการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ประกอบไปด้วย

1.  กำหนดประเด็นปัญหาให้ถูกต้อง อาจกำหนดได้เป็น ปัญหาหลัก และปัญหารอง

2.  ระบุตัวแปรทั้งหมด ที่ทำให้เกิดปัญหา

3.  กำหนดวิธีแก้ไขหรือพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ อาจมีมากกว่า 1 วิธี

4.  เปรียบเทียบวิธีแก้ไข แต่ละวิธี และประเมินดูว่าวิธีการใดสามารถจะนำไปสู่การปฏิบัติได้และจะนำไปสู่การบรรลุผลตามเป้าหมาย

5.  เลือกวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด

6. นำไปทดลองปฏิบัติ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

7.  ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด

8.  แก้ไขเปลี่ยนแปลงจุดที่พกพร่องในวิธีการปฏิบัติงาน

9.  กำหนดมาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน

10. สั่งการให้พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

การทำงานเป็นทีม

การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน  การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็น   ทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี

คุณลักษณะของทีม  

ทีมที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานคือกลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ ทีม ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ท่านและเพื่อนร่วมทีมจะต้องยึดถือเป็นกรอบเพื่อทำงานร่วมกัน

– มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
– จัดการด้วยตนเอง
– พึ่งพาตัวเอง
– ขนาดของกลุ่มที่พอเหมาะ

การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารคือ  เครื่องสร้างความเข้าใจ และสร้างวัฒนธรรมตลอดจนสามารถสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรนั้นๆ  เป็นศูนย์รวมให้องค์กรนั้นๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล  โดยผู้ใช้จะต้องเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการสื่อสารเป็นอย่างดี

1.2  วัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร

        1)  เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

        2) เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ

        3) เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตามที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข

1.3  ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

1) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการบริหารงาน  เพราะการสื่อสารภายในองค์กรจะช่วยทำให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  เนื่องจากการทำงานต้องอาศัยหลายฝ่าย หลายส่วนงานเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กร

2) เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรต่างๆภายในองค์กรเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสร้างความไว้วางใจต่อกัน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้บุคลากรในระดับต่างๆได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของผู้บริหาร

3) การช่วยกันปฏิบัติภารกิจขององค์กรและมีการประสานงานระหว่างกัน พร้อมทั้งทำงานสอดคล้องกันแม้ว่าจะต่างฝ่ายกันก็ตาม แต่เพื่อองค์กรเดียวกัน  ผู้บริหารสามารถใช้การสื่อสารให้เป็นการสื่อสารเพื่อ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กรให้ได้

4) การช่วยให้เกิดการพัฒนาและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  จากปัจจัยต่างๆข้างต้นเมื่อผสมผสานเข้ากันแล้ว  สามารถช่วยทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรได้  โดยเฉพาะพลังขับเคลื่อนที่นำโดยผู้บริหาร  ที่รู้จักการสื่อสารภายในองค์กรเป็นอย่างดี

  อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าการสื่อสารคือเครื่องมืออย่างหนึ่งของผู้บริหาร  ที่จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร   ถ้าผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกบริหารระดับมีส่วนในการบริหาร ถ้าขาดการสื่อสารก็ไม่สามารถที่จะทำให้การงานมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตแก่บุคลากรได้

ใบงานที่4

1.ให้นักศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่าง หลักการ ทฤษฎีการบริหารจัดการ แต่ละยุค  ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ (Theory and Principles of Administration)  สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ยุค ดังนี้

          ยุคที่ 1 แนวคิดสมัยคลาสสิคหรือแบบดั้งเดิม (Classic Approaches)  เป็นแนวคิดที่เน้นการพัฒนาหลักการบริหารที่เป็นสากล สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลายได้

ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม  หลักการและแนวคิด

– ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของงาน

– มองว่ามนุษย์เป็นเครื่องจักร

– การบริหารงานมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว

– พนักงานจะมีแรงจูงใจเมื่อการการใช้การบังคับ

– มุ่งเน้นที่องค์การโดยรวม ตลอดจนวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness)

ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม สามารถแบ่งย่อย ได้ดังนี้

1.1) ทฤษฎีหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

          เฟรดเดอริคเทย์เลอร์: Frederick Taylorได้เสนอความเห็นหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ในบทความชื่อ “The Principle of ScientificManagement” มีหลักการว่า

–  การอาศัยหลักความเคยชิน (rule of thumb) แบบดั้งเดิม ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้การทำงานตามประสบการณ์ของคนงานแต่ละคน คนงานมีแนวโน้มที่จะอู้งาน ถ่วงงาน เกียจคร้านและคอยเลี่ยงงานอยู่ตลอดเวลา

–  ผู้บริหารแบบดั้งเดิม มีหน้าที่น้อยมาก งานเบา เพราะการทำงานต่างๆ ขึ้นอยู่กับคนงาน

–  ด้วยเหตุดังกล่าวการบริหารแบบดั้งเดิม จึงไม่มีประสิทธิภาพ

หลักการและแนวคิดการจัดการทางวิทยาศาสตร์

1. สร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนต่างๆ ของงาน แทนการปฏิบัติตามความเคยชิน ได้แก่

1.1  Specialization (ความชำนาญเฉพาะด้าน)

1.2  One Best Way (วิธีการทำงานที่ดีสุดเพียงวิธีเดียว)

1.3  Incentive Wage System (ระบบการจูงใจโดยใช้มาตรฐานของงาน)

1.4  Time and Motion Study (การศึกษาระยะเวลาและการเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน)

1.5  Piece Rate System (ระบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น)

2. เป้าหมายของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ คือ การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพ สูงสุด  Maximizing efficiency

3. การสร้างกฏเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ต้องอาศัยการทดลองอย่างละเอียดตามหลักการศึกษาแบบเวลาและการเคลื่อนไหว    time and motion

4. ผลของการศึกษาจะทำให้ได้ขั้นตอนวิธีการเคลื่อนไหวของร่างกายวิธีที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุดวิธีเดียว One best way

5. ระบบการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้คนงานทำงานให้ได้มากที่สุด คือการจ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้น Price rate system

             1.2) ทฤษฎีหลักการบริหาร (Administrative Principles)

               นักทฤษฎีที่สำคัญ คือ    เฮนรี่ เฟโยล์  (Henri Fayol) นักวิศวกรอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสเขียนหนังสือ ชื่อ “General and Industrial Administration”เพื่อค้นหากฎเกณฑ์ในการบริหารที่มีลักษณะเป็นสากล ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ นักบริหารที่ต้องมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อองค์การ

                เป็นแนวคิดที่ได้จากการศึกษาผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ จนนำไปสู่การสร้างหลักการบริหารที่มององค์การในภาพรวม และสามารถประสานกิจกรรมต่างๆ ในองค์การด้วยกันได้

แนวคิด ฟาโยว์ อยู่ที่การค้นหากฏเกณฑ์ในการบริหารที่เป็นสากล (Universal) สามารถใช้ได้ทั้งองค์การอุตสาหกรรม องค์การของรัฐ และสถาบันอื่นๆ

ยุคที่ 2 แนวคิดที่เน้นพฤติกรรมมนุษย์ (Behavioral Approaches)  เป็นแนวคิดที่เน้นความต้องการของมนุษย์ การทำงานร่วมกันและบทบาทด้านสังคมที่มีผลต่อการทำงานของมนุษย์

ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์

           ในกลุ่มของความคิดทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation movement) ความคิดของอับบราฮัมเอช. มาสโลว์ในเรื่องความต้องการของมนุษย์มีความโดดเด่นมาก

             มาสโลว์พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจที่มีสมมุติฐาน 3 ประการเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์

             1. มนุษย์มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุด

             2. พฤติกรรมของมนุษย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเป็นไปเพื่อที่จะให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งยังไม่ได้รับการตอบสนอง

              3. ความต้องการของมนุษย์เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นที่สามารถคาดเดาได้จากระดับล่างสุดไปสู่สูงสุด

ยุคที่ 3 แนวคิดเชิงปริมาณหรือการบริหารศาสตร์ (Quantitative  or Management Science Approaches)  เป็นแนวคิดที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหาทางการบริหาร

แนวคิดการบริหารเชิงปริมาณเกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกองทัพของอังกฤษและอเมริกาใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อวางกลยุทธ์ปกป้องกองเรือของตน เพื่อจัดสรรการใช้ทรัพยากรในการรบ

            หลังสงครามโลกสงบลง เทคนิคเชิงปริมาณกลายเป็นที่สนใจและนำมาใช้ในองค์การธุรกิจต่างๆ โดยใช้เทคนิคทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และข้อมูลต่างๆ เพื่อการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาทางการบริหาร

บริหารศาสตร์และการวิจัยเชิงปฏิบัติการมักจะถูกใช้ในความหมายเดียวกัน เพื่ออธิบายถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาทางการบริหาร โดยเริ่มต้นจากการระบุถึงปัญหา การวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ การเลือกแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และวิธีการคำนวณที่เหมาะสมเพื่อแสวงหาคำตอบที่ดีที่สุด

ลักษณะเด่นของการบริหารศาสตร์

             1. เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีความชัดเจนสามารถระบุออกมาเป็นมาตรฐานที่ต้องการได้

              2. เกี่ยวข้องกับทางเลือกของการตัดสินใจที่ชัดเจน สามารถประเมินผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกได้

3. เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบจำลองเพื่ออธิบายถึงความเกี่ยวพันกับปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการแก้ปัญหา

 ยุคที่ 4 แนวคิดสมัยใหม่ (Modern Approaches)  เป็นแนวคิดที่มององค์การในฐานะเป็น “ระบบ” (System) และแนวคิดในเชิงสถานการณ์เพื่อการปรับตัวขององค์การให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและผันผวน  มีพื้นฐานมาจากแนวคิดในยุคสมัยที่ผ่านๆ มาไม่ว่าจะเป็นสมัยคลาสสิค  สมัยที่เน้นพฤติกรรมมนุษย์ หรือสมัยที่เน้นเชิงปริมาณ  แนวคิดสมัยใหม่นั้นเห็นว่าไม่มีทฤษฎีหรือแนวคิดใดๆ  จะสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์การได้ทุกกรณี  และไม่มีทฤษฎีไหนจะสามารถทดแทนทฤษฎีอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์

 1.แนวคิดเชิงระบบ (System Thinking)

ระบบ หมายถึงที่รวมขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีความเกี่ยวพันและทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในระบบหนึ่งๆ ประกอบไปด้วยระย่อย

องค์การจึงอยู่ในฐานะที่เป็นระบบ ที่ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือสิ่งนำเข้าสู่ระบบ กระบวนการแปลงรูป ผลผลิตที่ออกจากระบบ และข้อมูลป้อนกลับ

2. แนวคิดเชิงสถานการณ์ (Contingency Thinking)

เป็นแนวคิดที่แพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1960 จากงานวิจัยทั้งทางยุโรปและอเมริกาที่นำเสนอความคิดที่ว่า วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมในการบริหารนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางสถานการณ์เป็นสำคัญ แนวคิดนี้สนับสนุนให้ผู้บริหารเข้าใจในความแตกต่างของสถานการณ์แวดล้อมและแก้ปัญหาทางการบริหารในวิถีทางที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ แทนที่จะมุ่งค้นหา “วิธีการที่ดีที่สุด”

              ข้อสรุปแนวคิดเชิงสถานการณ์ เป็นแนวคิดชี้ว่า รูปแบบการบริหารที่ใช้ได้ผลในองค์การหนึ่งไม่จำเป็นต้องได้ผลในองค์การอื่นด้วย หรือสิ่งที่เหมาะสมในช่วงเวลาหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมเมื่อเวลาเปลี่ยนไป สถานการณ์ที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในฐานะเงื่อนไขของการเลือกวิธีการบริหารที่เหมาะสม

3. แนวคิดเรื่องคุณภาพทั่วทั้งระบบ

              เป็นแนวคิดที่เน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง มีการผลิตที่ได้คุณภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงได้รับการกล่าวถึงอย่างทั่วโลก เพราะเป็นหนทางที่ผู้บริหารจะสามารถรับมือกับการแข่งขันในระดับโลกได้

แนวคิดเรื่องคุณภาพทั่วทั้งระบบ

              มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการด้วยกัน

             1. การมีส่วนร่วมของพนักงาน

             2. การเน้นที่ลูกค้า

             3. การเปรียบเทียบ

             4. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

4. แนวคิดทฤษฎี Z ของญี่ปุ่น

            วิลเลี่ยม โออูชิ (William Ouchi) นำเสนอแนวคิดเป็นการรับเอาแนวทางการบริหารของญี่ปุ่นเข้ามาผสมผสานกับแนวการบริหารของอเมริกามีลักษณะสำคัญคือ

             1. เน้นการสร้างความมั่นคงในการจ้างงานให้พนักงานเพื่อลดความวิตกกังวลของพนักงานในการถูกเลิกจ้าง

             2. เน้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

             3. เน้นความรับผิดชอบของกลุ่ม การเลื่อนตำแหน่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป

             4. เน้นการปรับปรุงคุณภาพ การควบคุมอย่างไม่เป็นทางการ การใส่ใจกับความเป็นอยู่ของพนักงานทั้งในและนอกงาน

             5. การให้รางวัลกับพนักงานที่ไม่เพียงพิจารณาจากผลงานเฉพาะตัว แต่พิจารณาถึงการทำงานร่วมกันในกลุ่มเพื่อสร้างการตัดสินใจและการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน

 2. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่าง ทฤษฎีภาวะผู้นำ

     ทฤษฎีภาวะผู้นำ  การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย   แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการศึกษาและรวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ โดยแบ่งตามระยะการพัฒนา ดังนี้

1. ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ(Trait Theories)

2. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ (Behavioral Theories)

3. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (Situational or Contingency Leadership Theories)

4. ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership Theories)

 1.  ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ(Trait Theories)

           1) The tasks of Leadership : กล่าวถึงงานที่ผู้นำจำเป็นต้องมี  9 อย่าง ได้แก่   มีการกำหนดเป้าหมายของกลุ่ม มีบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่ม รู้จักสร้างและใช้แรงจูงใจ มีการบริหารจัดการ มีความสามารถในการปฏิบัติการ สามารถอธิบายได้ เป็นตัวแทนของกลุ่ม แสดงถึงสัญลักษณ์ของกลุ่ม และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   

            2)  Leader– constituent interaction เชื่อว่าผู้นำต้องมีพลังวิเศษเหนือบุคคลอื่นหรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นๆเพื่อที่สนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐาน ความคาดหวังของบุคคล และผู้นำต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาให้ผู้ตามมีความแข็งแกร่ง และสามารถยืนอยู่ด้วนตนเองอย่างอิสระ

  2.  ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ  

              แนวคิดหลักของทฤษฎี คือ ให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติและชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นำและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน  Kurt Lewin’ s Studies   Lewin แบ่งลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ คือ

(1)  ผู้นำแบบอัตถนิยมหรืออัตตา   จะตัดสินใจด้วยตนเองไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แน่นอนขึ้นอยู่กับตัวผู้นำเอง คิดถึงผลงานไม่คิดถึงคน ผลของการมีผู้นำลักษณะนี้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และไม่เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

(2)  ผู้นำแบบประชาธิปไตย   ใช้การตัดสินใจของกลุ่มหรือให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นส่วนรวม ทำงานเป็นทีม

(3)  ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม   จะให้อิสระกับผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา จะไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่มีระเบียบ จะทำให้เกิดความคับข้องใจหรือความไม่พอใจของผู้ร่วมงานได้และได้ผลผลิตต่ำ การทำงานของผู้นำลักษณะนี้เป็นการกระจายงานไปที่กลุ่ม

 3.  ทฤษฎีตามสถานการณ์

       1)   แนวคิดทฤษฎี 3 – D Management Style เป็นทฤษฎีที่นำปัจจัยสิ่งแวดล้อมของผู้นำมาพิจารณาว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของผู้บริหาร ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่อำนวยให้

        2)   Theory Z Organization   William Ouchi เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และความดีอยู่ในตัว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนางานและมีการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนล่างและพัฒนาถึงคุณภาพชีวิต ผู้นำเป็นเพียงผู้ที่คอยช่วยประสานงาน ร่วมคิดพัฒนาและใช้ทักษะในการอยู่ร่วมกัน

         3)   Life – Cycle Theories   เฮอร์เซย์และบลันชาร์ด  ได้เสนอทฤษฎีวงจรชีวิต โดยได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีเรดดินและยังยึดหลักการเดียวกัน คือ แบบภาวะผู้นำอาจมีประสิทธิผลหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ 

 4.  ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป

        ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูป  ผู้บริหารควรมีลักษณะความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย โดยอธิบายว่า เป็นวิธีการที่ผู้บริหารจูงใจผู้ตามให้ปฏิบัติตามที่คาดหวังไว้ ด้วยการระบุข้อกำหนดงานอย่างชัดเจน และให้รางวัล เพื่อการแลกเปลี่ยนกับความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของผู้ตาม การแลกเปลี่ยนนี้จะช่วยให้สมาชิกพึงพอใจในการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของงาน   สรุปลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ ได้แก่

1) ผู้นำการแลกเปลี่ยน   ผู้นำที่ติดต่อกับผู้ตามโดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นต่อมากลายเป็นประโยชน์ร่วมกัน ลักษณะนี้พบได้ในองค์กรทั่วไป เช่น ทำงานดีก็ได้เลื่อนขั้น ทำงานก็จะได้ค่าจ้างแรงงาน และในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีข้อแลกเปลี่ยนกับชุมชน เช่น ถ้าตนได้รับการเลือกตั้งจะสร้างถนนให้ เป็นต้น

2) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง    ผู้นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองสูงกว่าความต้องการของผู้ตาม เน้นการพัฒนาผู้ตาม กระตุ้นและยกย่องซึ่งกันและกันจนเปลี่ยนผู้ตามเป็นผู้นำ และมีการเปลี่ยนต่อๆกันไป เรียกว่า Domino effect ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำจริยธรรม ตัวอย่างผู้นำลักษณะนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน

3) ผู้นำจริยธรรม   ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ  ความปรารถนา ค่านิยม และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริง